หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปะการแสดง
ชื่อย่อ : ศศ.ม.
(ศิลปะการแสดง) ภาษาอังกฤษ : Master of Arts
Program in Performing
Arts คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ความเป็นมาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปะการแสดง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ในเบื้องต้นได้เริ่มเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา
2551 อย่างต่อเนื่อง
โดยสังกัดบัณฑิตวิทยาลัยเป็นเวลารวม 9 ปี
และในปีการศึกษา 2560
หลักสูตรได้ย้ายมาสังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์
เพื่อให้การศึกษาทางศิลปะการแสดงเป็นการศึกษาที่ต่อเนื่องตั้งแต่ระดับปริญญาตรี
โทและเอก
สำหรับการฝึกทักษะความชำนาญในทางปฏิบัติและทฤษฎีสู่ความเป็นศิลปินและนักวิชาการด้านศิลปะการแสดงที่มีความสามารถ
ถนัดวิชาการและเชี่ยวชาญงานศิลป์
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปะการแสดง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นับได้ว่าเป็นสถาบันที่มีที่มีความพร้อมด้านคณาจารย์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณวุฒิระดับดุษฎีบัณฑิตตรงตามสาขาทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งยังมีเครือข่ายทางวิชาการที่เข้มแข็งกับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
อย่างไรก็ดีคณะกรรมการหลักสูตรฯ
ยังคงดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรศิลปะการแสดงระดับบัณฑิตศึกษาให้ทันสมัย
ก้าวหน้า
สอดคล้องกับศักยภาพที่มีและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นทุนในการพัฒนางานศิลปะและพัฒนาประเทศด้านอื่นๆให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาศิลปะการแสดง ชื่อย่อ : ปร.ด.
(ศิลปะการแสดง) ภาษาอังกฤษ : Doctor of
Philosophy Program in Performing
Arts คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ความเป็นมาของหลักสูตร
ความรู้ด้านศิลปะการแสดงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งต่อการสร้างความสัมพันธ์
ความเข้าใจระหว่างกลุ่มชน
ชุมชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และจรรโลงศิลปะของชาติร่วมกัน
ความตระหนักในความสำคัญดังกล่าว
คณะศิลปกรรมศาสตร์จึงพัฒนาและเริ่มเปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(ศิลปะการแสดง) ในปีพ.ศ.2561 เป็นต้นมา
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตในฐานะนักวิชาการและนักวิจัย
ที่มีความรู้ในลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ
(inter-disciplinary)
อย่างที่สังคมในปัจจุบันมีความต้องการสร้างบุคลากรกลุ่มใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิภาคศึกษาอันเป็นก้าวใหม่ของการผลิตทรัพยากรบุคคลของประเทศและสังคมโลกผ่านมิติทางศิลปะการแสดง
เพื่อสืบสานวัฒนธรรมของชาติทั้งยังเป็นการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมสืบต่อไป
นับเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกันอีกทางหนึ่งด้วยประวัติความเป็นมา